ลงพื้นที่ เชิงรุก สนองนโยบายจัดการศึกษาแก่กลุ่มเป้าหมายของนักศึกษา
ที่หลุดจากระบบการศึกษา (Zero Dropout)
สืบเนื่องจาก นโยบายรัฐบาลด้านการศึกษา “รัฐบาลจะเร่งส่งเสริมผลักดันให้เกิดการพัฒนาคนไทยทุกช่วงวัยอย่างเต็มกําลังและความสามารถ” เฟ้นหา ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่หลุดออกจากระบบ โดยพลตํารวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญประเด็นการแก้ปัญหาเด็กและเยาวชนหลุดออกจากระบบการศึกษา (Dropout) จึงได้มีข้อสั่งการให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ดําเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเด็กและเยาวชนที่ไม่มีชื่อในระบบการศึกษา โดยบูรณาการการทํางานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีเป้าหมายช่วยเหลือเด็กและเยาวชน ทั้งด้านการศึกษา สุขภาวะ พัฒนาการ สภาพความเป็นอยู่ และสภาพสังคม ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข”
เพื่อเป็นการสนองนโยบายเชิงรุก นางวิบูลผล พร้อมมูล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจัดการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายของนักศึกษาที่หลุดจากระบบการศึกษา (Zero Dropout) ณ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอพานทอง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี ได้ดำเนินการตามนโยบาย ให้กับกลุ่มเป้าหมายของนักศึกษาอายุระหว่าง 9-12 ปี ที่หลุดจากระบบการศึกษา (Zero Dropout) โดยดำเนินการดังนี้
กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน
เข้าร่วมโครงการอบรมให้ความรู้พัฒนาทักษะชีวิตเพื่อคนรุ่นใหม่ ก้าวสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
โครงการกีฬาต้านยาเสพติดสานสัมพันธ์เพื่อนักศึกษา สกร.ระดับอำเภอพานทอง
กิจกรรมการเรียนการสอน
มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในช่วง วันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ เวลา 08.00-09.00 น.ทำความสะอาด 09.00-11.00 น. วิชาคณิตศาสตร์ 11.00-12.00 น. และวิชาภาษาไทย
กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา
กิจกรรมบูรณาการ งานทักษะฝีมือ
กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา “รู้จักงานบ้าน”
กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนา “มื้อนี้หนูทำ”
อีกทั้งมีแนวทางในการต่อยอดและพัฒนา เช่น
1.การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ปรับพื้นฐาน ผู้เรียน เช่น
1.1 ทักษะด้านภาษาไทย การอ่าน การเขียน และการสื่อสาร
1.2 ทักษะด้านคณิตศาสตร์ การแก้ปัญา การมีเหตุผลเบื้องต้น
2.กิจกรรมพัฒนาเสริมทักษะสอดคล้องการดำเนินชีวิตในประจำวัน “การพึ่งพาตนเอง”เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและปรับใช้ได้จริง
อีกทั้งมีแนวทางในการต่อยอดและพัฒนา เช่น
1.การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับผู้เรียน ปรับพื้นฐาน ผู้เรียน เช่น
1.1 ทักษะด้านภาษาไทย การอ่าน การเขียน และการสื่อสาร
1.2 ทักษะด้านคณิตศาสตร์ การแก้ปัญา การมีเหตุผลเบื้องต้น
2.กิจกรรมพัฒนาเสริมทักษะสอดคล้องการดำเนินชีวิตในประจำวัน “การพึ่งพาตนเอง”เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะและปรับใช้ได้จริง
เข้าชม : 54
|